Thursday, August 28, 2008

ภาวะโลกร้อน

าวะโลกร้อน : ผลกระทบต่อประเทศไทย ภาวะโลกร้อน มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ฤดูกาลต่าง ๆ เปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะค่อย ๆ ตายลง ผลต่อมนุษย์เมื่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น อาจทำให้บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย ประชาชนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม แต่บางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก เนื่องจากฝนตกรุนแรงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูงละลาย ทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบบางพื้นที่อาจจมหายไปอย่างถาวร งานวิจัยเนื้อหากว่า 1,000 หน้า จากนักวิทยาศาสตร์กว่า 700 คน เกี่ยวกับกรณีภาวะโลกร้อนจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศแต่ละส่วนของโลก
1. ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง ส่วนทวีปยุโรป ยุโรปใต้ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื้นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้ง ในหลายพื้นที่ปัญหาอุทกภัยจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะละลายจนหมด ขณะที่เอเชียอุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลิตผลทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น สภาวะอากาศแปรปรวนอาจทำให้เกิดพายุต่าง ๆ มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งปัจจุบันก็เห็นผลกระทบได้ชัดไม่ว่าจะเป็นใต้ฝุ่นกก แต่แถบทวีปอเมริกาเหนืออุตสาหกรรมการผลิตอาหารจะได้รับผลประโยชน์เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้น พร้อม ๆ กับทุ่งหญ้าใหญ่ของแคนาดาและทุ่งราบใหญ่สหรัฐอเมริกาจะล้มตายเพราะความแปรปรวนของอากาศส่งผลต่อสัตว์ สำหรับประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส ในช่วง 40 ปี อย่างไรก็ตาม หากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2- 4 องศาเซลเซียส จะทำให้พายุไต้ฝุ่นเปลี่ยนทิศทาง เกิดความรุนแรงและมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ในอนาคต นอกจากนี้ ฤดูร้อนจะขยายเวลายาวนานขึ้น ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้การระเหยของน้ำทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ ลำธาร และทะเลสาบเพิ่มมากขึ้น ยิ่งจะทำให้ฝนตกมากขึ้น และกระจุกตัวอยู่ในบางบริเวณ ทำให้เกิดอุทกภัย ส่วนบริเวณอื่นๆก็จะเกิดปัญหาแห้งแล้ง เนื่องจากฝนตกน้อยลง กล่าวคือ พื้นที่ภาคใต้จะมีฝนตกชุก และเกิดอุทกภัยบ่อยครั้งขึ้น ในขณะที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องเผชิญกับภัยแล้งมากขึ้น รูปแบบของฝนและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้วัฏจักรของน้ำเปลี่ยนแปลง ลักษณะการไหลของระบบน้ำผิวดิน และระดับน้ำใต้ดินก็จะได้รับผลกระทบด้วย ทั้งพืชและสัตว์จึงต้องปรับปรุงตัวเองเข้าสู่ระบบนิเวศที่เปลี่ยนไป ลักษณะความหลากหลายทางชีวภาพก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ระบบนิเวศทางทะเล ก็เป็นอีกระบบนิเวศหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และอุณหภูมิผิวน้ำที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้พืชและสัตว์ทะเลบางชนิดสูญพันธุ์ รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกสีทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน 2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา เนื่องจากระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไป ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล ในเอเชียยังมีโอกาสร้อยละ 66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติ เนื่องจากความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญตามแนวชายฝั่งที่ยุบตัว ภัยธรรมชาติ และความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่รุนแรง ล้วนส่งผลให้ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของประเทศมีปริมาณลดลง พื้นที่ที่คุ้มค่าแก่การป้องกันในเชิงเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่มีการพัฒนาสูง อาจได้รับการป้องกันล่วงหน้า เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จำต้องมีโครงสร้างป้องกันกระแสคลื่น ซึ่งจะรุนแรงขึ้นเมื่อน้ำทะเลสูงขึ้น หรือการสร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลหรือเขื่อน เพื่อป้องกันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร และการทำนาเกลือ เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2532-2545 ประเทศไทยเกิดความเสียหายจากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000 ล้านบาท 3. ผลกระทบด้านสุขภาพ เดวิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์ แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช ที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษนักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก และ London School of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยศึกษาด้านสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของอังกฤษ แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิต นี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยโรคท้องร่วง และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและเหตุการณ์ตามธรรมชาติที่รุนแรงและเกิดบ่อยครั้งส่งผลกระทบโดยตรง ต่อสุขภาพและอนามัยของคนไทย โรคระบาดที่สัมพันธ์กับการบริโภคอาหารและน้ำดื่ม มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงมากขึ้น โดยภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะน้ำท่วมทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็น โรคบิด ท้องร่วง และอหิวาตกโรค เป็นต้น โรคติดต่อในเขตร้อนก็มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น และจะคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ ไข้มาลาเรีย ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากการขยายพันธุ์ของยุงจะมากขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่ร้อนขึ้นและฤดูกาลที่ไม่แน่นอน แนวโน้มของผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจากภัยธรรมชาติ อาจนำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร และความอดอยาก ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร และภูมิต้านทานร่างกายต่ำ โดยเฉพาะในเด็กและคนชรา
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาสำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานว่า คลื่นความร้อนปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกของสหรัฐ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึงกว่า 160 ราย ในพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนีย นอกจากนี้คลื่นความร้อนยังส่งผลให้เมืองใหญ่หลายเมืองไม่ว่าจะเป็น นิวยอร์ก ชิคาโก บัลติมอร์ วอชิงตัน บอสตัน ฟิลาเดลเฟียไปจนถึงแอตแลนตา ล้วนแต่ต้องเผชิญกับอุณหภูมิสูงเกือบ 40 องศาเซลเซียส ซึ่งคลื่นความร้อนดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชน ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงจากเครื่องปรับอากาศปรากฏการณ์ความแปรปรวนของสภาวะอากาศอย่างสุดขั้วในทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่าสภาพเช่นนี้เป็น “ภาวะโลกร้อน” ซึ่งเป็นภาวะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากปรากฎการณ์เรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติดักจับความร้อนออกไปยังบรรยากาศของโลก ก๊าซเหล่านี้จะรวมตัวกันจนกลายเป็นผ้าห่มหนา ๆ ดักจับความร้อนของดวงอาทิตย์ รวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่าจำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่มนุษย์ได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่ตัวของเราเองในลักษณะของ
ภาวะโลกร้อนปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ขึ้นนั้นมีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า ปรากฎการณ์เรือนกระจกก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ที่จะต้องลดการปล่อยได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2) ก๊าซมีเทน ( CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ( N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน ( HFCS) ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน ( CFCS) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ ( SF6 ) จากเนื้อความในหนังสือและภาพยนต์สารคดี An Inconvenient Truth (ความจริงที่ไม่มีใครอยากรับรู้) ซึ่งจัดทำขึ้นโดย อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผู้ผันตัวมาเป็นนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเต็มตัว สะท้อนความเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์ที่โลกต้องตะลึง อัล กอร์ บอกไว้ว่า กรณีทะเลอารัลบอกเล่าเรื่องราวง่ายๆ ที่ว่าการไม่คำนึงถึงธรรมชาติอาจก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวง ตัวอย่างเรื่องการพัฒนาระบบชลประทานอาจก่อผลกระทบที่เราคาดไม่ถึง เมื่อมนุษย์มีอำนาจพอที่จะปรับเปลี่ยนสภาพแม่น้ำได้ จากการที่มนุษย์ผันน้ำมาใช้มากเกินไป โดยไม่ใส่ใจธรรมชาติ ส่งผลให้แม่น้ำบางสายไม่สามารถไหลลงสู่ทะเลได้อีกต่อไป การชลประทานปรับเปลี่ยนแม่น้ำอันยิ่งใหญ่ได้ตามแต่ใจเรา โดยไม่ไยดีกับธรรมชาติ เป็น กรณีเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตผันน้ำของแม่น้ำใหญ่สองสายจากเอเชียกลาง ได้แก่ แม่น้ำอมูดาร์ยา และไซร์ดาร์ยา ที่เคยหล่อเลี้ยงทะเลอารัล นำไปใช้ในการชลประทานไร่ฝ้าย ที่สุดทะเลอารัลก็เหือดแห้ง เหลือเป็นเพียงอนุสรณ์สถานแก่โลกปัจจุบัน ยืนยันได้ว่า แม้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมีคุณูปการมากมายต่อมนุษย์ แต่ก็สร้างผลกระทบมหันต์เช่นกัน และเป็นมหันตภัยที่มาจากภาวะ"โลกร้อน" ที่คุกคามโลกมนุษย์ในขณะนี้

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ปี 2005 คือปีที่โลกมีอุณหภูมิร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการวัดอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ เป็นสิบปีที่ถือว่ามีอากาศร้อนที่สุด เท่าที่เคยมีมานับแต่ปี 1990 ในฤดูร้อนปี 2005หลายร้อยเมือง ในอเมริกามีอากาศร้อนสูงระดับทำลายสถิติ ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ ในปี 2003 คลื่นความร้อนทำให้คนในยุโรปเสียชีวิตถึง 30,000 ศพ และในอินเดีย มีผู้เสียชีวิตไป 1,500 ศพ นับแต่ปี พ.ศ. 2521 ทะเลน้ำแข็งที่ขั้วโลกลดปริมาณลง 9 เปอร์เซ็นต์ต่อทุกสิบปี ด้วยระดับการละลายตัวในปัจจุบัน รวมถึงหิมะที่เทือกเขาคิลิมันจาโรอาจจะหมดไปในปี 2020 เทือกเขาดังกล่าวอยู่ทางตอนบนของประเทศแทนซาเนีย ติดกับประเทศเคนยา เป็นหนึ่งในภูเขาไฟลูกที่ใหญ่สุดในโลก เป็นเทือกเขาที่สูงในทวีปแอฟริกาจนเรียกขานว่า “หลังคาแห่งกาฬทวีป” จากสัญญาณดังกล่าว นำพาไปสู่การทำนายผลกระทบ ต่าง ๆ เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น โดยมีการคาดเดาว่าภาวะโลกร้อนจะเพิ่มความรุนแรงของพายุเฮอริเคน ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา พายุเฮอริเคนระดับ 4 และ 5 เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะน้ำในมหาสมุทรร้อนขึ้น พายุฤดูร้อนสามารถเพิ่มกำลังมากขึ้น และกลายเป็นพายุที่มีพลังมากขึ้นถึงแม้พายุรุนแรงจะก่อให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ แต่ความแห้งแล้งและไฟป่ายังคง เพิ่มสูงขึ้นในอีกหลายพื้นที่ เกาะที่ต่ำจะไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีก ต่อไป อันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ป่า, ฟาร์ม และเมืองทั้งหลายจะต้องเผชิญหน้ากับสัตว์รบกวนที่สร้างปัญหา รวมถึงเชื้อโรคร้ายที่เกิดจากยุงเป็นพาหะมีจำนวนมากขึ้น การทำลายถิ่นอาศัยของสัตว์อย่างเช่นแนวปะการัง และทุ่งหญ้าอาจทำให้พืชและสัตว์หลาย สายพันธุ์สูญพันธุ์ไป !!! ขณะที่ประเทศไทย มีปรากฏการณ์ด้านโลกร้อนเกิดขึ้นให้เห็นแล้ว ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า จากการสำรวจล่าสุดพบว่าระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มขึ้น 1-2 มิลลิเมตรต่อปี ยังอยู่ในระดับปกติ แต่ในทะเลฝั่งอันดามัน สูงขึ้น 8-12 มิลลิเมตรต่อปี มีผลอย่างมากต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณน้ำทะเลที่สูงเพียง 50 เซนติเมตร สามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง ความแปรปรวนของอากาศ ปริมาณฝนที่ตกมากกว่าปกติ แต่ทิ้งช่วงผิดธรรมดา ทำให้เกิดภัยแล้งและอุทกภัยอย่างร้ายแรงกว่าที่เคยประสบมานั้น คือหนึ่งในปรากฏการณ์ที่เตือนเราว่านี่คือการคุกคามของ Global warming อย่างชัดเจนแล้ว และกำลังจะร้ายแรงมากขึ้นทุกขณะ ปีสองปีที่ผ่านมา ภาวะแห้งแล้งผิดธรรมชาติในไทยเกิดขึ้นในกว่า 65 จังหวัด พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายกว่า 10 ล้านไร่...นั่นก็คือจากปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" อันเป็นส่วนหนึ่งของภาวะโลกร้อน ปีที่แล้วน้ำท่วมหนัก ดินถล่มอย่างรุนแรงที่อุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย ลำปาง และน่าน ก็เพราะมีปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน...นั่นคือปรากฏการณ์ "ลานีญา" ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายทันทีกว่า 1 พันล้านบาท ที่สมุทรปราการ มีตัวอย่างของ global warming ที่มีผลกระทบต่อไทยอย่างชัดเจนแล้ว คือชายฝั่งถูกกัดเซาะอย่างหนักหน่วงเพราะแผ่นดินทรุด น้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นลมทะเลแรงขึ้นทุกวัน...ที่นั่น พื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งหายไปแล้วกว่า 11,000 ไร่ ทำให้ชาวบ้านต้องย้ายบ้านถึง 4-5 ครั้ง ผู้เชี่ยวชาญไทยที่ติดตามเรื่องนี้บอกว่าถ้าเราไม่ทำอะไรเลย อีก 20 ปีข้างหน้า หรือเร็วกว่านั้น พื้นที่ชายฝั่งจะถูกกลืนหายไป 10.5 กิโลเมตร และถึงวันนั้น ที่ตั้งของสนามบินสุวรรณภูมิวันนี้ก็จะอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลเพียงแค่ 6 กิโลเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์กันว่าอีก 100 ปีข้างหน้าหรือในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิ จะสูงขึ้นจากปัจจุบัน 4.5 องศาเซลเซียส สภาวะโลกร้อนที่เริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ใหม่เกิดขึ้นทุกปี

Wednesday, August 6, 2008

การร้อยมาลัย

วิธีทำการร้อยมาลัยดอกไม้สดแถวที่ 1 มะลิ 2 ใบกระบือ 1 มะลิ 2 ร้องเรียงต่อกันในลักษณะไม่เกินครึ่งวงกลมแถวที่ 2 มะลิ 1 ใบกระบือ 2 มะลิ 1 ร้อยเรียงต่อกันโดยร้อยมะลิดอกแกรอยู่ระหว่างมะลิดอกที่ 1 กับ 2 ของแถวที่ 1 และกลีบต่อ ๆ ไปก็ร้อยสับหว่างกันไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ
•แถวที่ 3 มะลิ 1 (ร้อยอยู่ระหว่างแนวเดียวกับมะลิดอกแรกของแถวที่ 1 ) ใบกระบือ 1 ดอกพังพวย 1 ใบ กระบือ1 มะลิ 1 โดยร้อยสับหว่างเรียงกัน ไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ •แถวที่ 4 มะลิ 1 (ร้อยอยู่ระหว่างมะลิดอกที่ 1 กับใบกระบือใบแรกของแถวที่ 3 ) ใบกระบือ 2 มะลิ 1 แต่กลีบร้อยสับหว่างกัน แถวที่ 5,9 และ 13 ร้อยเหมือนแถวที่ 1แถวที่ 6,8,10,12,14 และ 16 ร้อยเหมือนแถวที่ 2แถวที่ 7,11 และ 15 ร้อยเหมือนแถวที่ 3
•หมายเหตุ จะร้อยจำนวนกี่แถวก็ได้ย่อมแล้วแต่ความยาวตามที่ต้องการจะใช้แต่ควรจะต้องจบลงด้วยแถวมะลิ1 ใบกระบือ 2 มะลิ 1 เสมอ และควรจะต้องให้ลายต่อกันได้ครบลายพอดีในเวลาที่ผูกมัดแล้ว วิธีการทำ
•แถวที่ 1 กุหลาบด้านโคน 6 ร้องเรียงต่อกันให้มีลักษณะครึ่งวงกลมแถวที่ 2 กุหลาบด้านโคน 5 ร้อยแต่ละกลีบให้สับหว่างกับแถวที่ 1แถวที่ 3 กุหลาบด้านโคน 6 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 1แถวที่ 4 กุหลาบด้านโคน 2 (กลีบแรกอยู่ระหว่างกลีบที่ 1 กับ 2 ของแถวที่ 3) ใบ 1 กุหลาบด้านโคน 2
แถวที่ 5 กุหลาบด้านโคน 2 (กลีบแรกอยู่ตรงกับกลีบแรกของแถวที่ 3) ใบ 2 กุหลาบด้านโคน 2 แถวที่ 6 กุหลาบด้านโคน 1 (อยู่ระหว่างกุหลาบกลีบที่ 1 กับ 2 ของแถวที่ 5) ใบ 1 กุหลาบด้านปลาย 1 ใบ 1 กุหลาบด้านโคน 1แถวที่ 7 กุหลาบด้านโคน 1 (อยู่ตรงกับกลีบแรกของแถวที่ 5) ใบ 1 กุหลาบด้านปลาย 2 ใบ 1 กุหลาบด้านโคน 1พุด 2 กุหลาบด้านปลาย 1 ใบ 1
•แถวที่ 8 ใบ 1 (อยู่ระหว่างกุหลาบด้านโคนกลีบแรกกับใบแรกของแถวที่ 7) กุหลาบด้านปลาย 1 พุด 1 กุหลาบด้านปลาย 1 ใบ 1 •แถวที่ 9 ใบ 1 (อยู่ตรงกับกุหลาบด้านโคนกลีบแรกกับใบแรกของแถวที่ 7) กุหลาบด้านปลาย 1 พุด 2 กุหลาบด้านปลาย 1 ใบ 1 แถวที่ 10 กุหลาบด้านปลาย 1 (อยู่ระหว่างใบแรกกับกุหลาบด้านปลายกลีบแรกของแถวที่ 9) พุด 1 ผกากรองตูม 1 พุด 1 กุหลาบด้านปลาย 1แถวที่ 11 กุหลาบด้านปลาย 1 (อยู่ตรงกับใบแรกของแถวที่ 9 ) พุด 1 ผกากรองตูม 2 พุด 1 กุหลาบด้านปลาย 1แถวที่ 12 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 10แถวที่ 13 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 9แถวที่ 14 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 8 •แถวที่ 15 ร้อยเหมือนกับแถวที 7แถวที่ 16 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 6แถวที่ 17 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 5แถวที่ 18 ร้อยเหมือนกับแถวที่ 4แถวที่ 19 กุหลาบด้านโคน 6 •(ร้อยเหมือนกับแถวที่ 3)แถวที่ 20 กุหลาบด้านโคน 5 •(ร้อยเหมือนกับแถวที่ 2)
•หมายเหตุ ถ้าต้องการซีกยาว ๆ จะต้องร้อยลายต่อกันหลายลาย เมื่อจบแถวที่ 20 แล้วให้เริ่มร้อยตั้งแต่แถวที่ 1 -20 ก็จะได้อีก 1 ลาย จะร้อยจำนวนกี่ลายนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความยาวที่ต้องการจะใช้ หน้าที่ใช้สอบของมาลัยซีก
1. ใช้รัดปิดรอยต่อมิให้เห็นปม หรือความไม่เรียบร้อย
2. ใช้คล้องต่อกันเป็นมาลัยลูกโซ่
3. ใช้ทำเป็นมาลัยชำร่วย
4. ใช้ทำเป็นมาลับเถา
5. ใช้ผูกรัดทำเป็นดอกทัดหู
6. ใช้ผูกรัดทำเป็นดอกไม้สำหรับปักแจกัน หรือ จัดดอกไม้แบบ 7. ใช้รัดผมมวย8. ใช้เป็นส่วนประกอบตกแต่งงานประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทยบางอย่าง

•งานร้อยมาลัยลูกปัด เป็นงานฝีมืออีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ •ในขณะนี้ อาจจะเป็นเพราะความแปลกใหม่ สวยงามแปลกตา •วัสดุ อุปกรณ์ไม่มาก ขั้นตอนและวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยาก รวมถึง •รูปแบบหรือผลงานที่สำเร็จออกมาก็มีความประณีต สวยงาม •อีกด้วย
•มาลัย แบบแรกที่จะนำเสนอ คือ ...มาลัยตะกร้อ •วัสดุอุปกรณ์ •1. ลูกปัดเงิน •2. หยดน้ำสีฟ้า •3. เอ็น •4. กรรไกร •5 ด้าย •6. เข็ม •7. ดอกไม้ทอง •8. ดอกกุหลาบแดง •9. โบว์สำเร็จ •10. ริบบิ้น